วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปวิจัยการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                 

      การใช้กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์การบอกค่าจำนวน 1-5 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 1.เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจำนวน 1-5 ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนบ้านหนองแม่แตง (ธรรมศาสตร์อาสา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา กําแพงเพชร เขต 1

 2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่เรียนด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา

ขอบเขตด้านเนื้อหา

 การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจำนวน 1-5 ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนบ้านหนองแม่แตง (ธรรมศาสตร์อาสา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา กําแพงเพชร เขต 1 มีเนื้อหาดังนี้

 1) เกมจับคู่ตัวเลขกับตัวเลข

 2) เกมจับคู่ตัวเลขกับจำนวน

ความเป็นมาและความสำคัญ

  เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่เริ่มต้นแห่งการเรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆสำหรับเด็กจึงมีความสำคัญครูนับว่าเป็นบุคลหนึ่งในการส่งเสริมและจักกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับเด็กโดยให้เด็กเข้าใจทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งนี้เพราะคณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันและธรรมชาติของเด็กปฐมวัยรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆรอบตัวในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกของเล่น การนับของเล่น เด็กจะเรียนรู้จักการใช้เงิน เด็กชอบท่องจำขณะที่การนับ 1 2 3 เด็กจะเรียนรู้การนับไปโดยไม่รู้ตัว เลข 1 2 3 ที่เด็กนับจะยังไม่มีความหมายสำหรับเด็กจนเมื่อได้นําไปใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆเช่น การซื้ออาหาร การซื้อสิ่งของต่าง ๆเป็นต้น ดังนั้นเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับนําไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนชั้นอนุบาล 1 จำนวน 12 คน โรงเรียนบ้านหนองแม่แตง(ธรรมศาสตร์อาสา) อำเภอ ไทรงาม จังหวัดกําแพงเพชร ปีการศึกษา 2556 มีทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของ จำนวน 1-5 ได้แม่นยำ

2. นักเรียนมีความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่เรียนด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา

3. ผลของการวิจัยสามารถนําไปเป็นข้อมูลและแนวทางแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องต่อไปได้ 

                                                                                                                                                                                                                                                                             

สรุปวิจัยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 ผลการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


 

💨 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์กบั เกณฑ์ร้อยละ70ของคะแนนเต็ม

2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลงัการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ

💨 ความสำคัญของปัญหาการวิจัย

-การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนจะต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ให้เขม้แข็งและมีพลังเพียงพอในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการพัฒนาคนหรือทุนมนุษย์ให้เข้มแข็ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคศตวรรษที่ 21

-การพัฒนาทักษะพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัยนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะการพัฒนาความสามารถและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัยเนื่องจากเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีพัฒนาการเรียนรู้สูงและเป็นช่วงวัยที่เหมาะต่อการปูพื้นฐานโดยการปลูกฝังคุณลกัษณะต่างๆเพื่อให้มีชีวิตที่ดีและมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลและเต็ม ศักยภาพ

 

                 


สรุปตัวอย่างการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

🔨อัจฉริยะทางคณิตศาสตร์สร้างได้ตั้งแต่ก่อนอนุบาล🔧


·                   เนื้อหาในกิจกรรม 

ม       ครูจะคุยเรื่องอัจฉริยะในทางคณิตศาสตร์สร้างได้ตั้งแต่ก่อนอนุบาลเป็นไปได้อย่างไร พ่อแม่ช่วยพัฒนาการเด็ก ๆในการจะหยิบจับของนั้น ๆ นับเป็นชิ้นๆอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะเพิ่มศัพท์ เพิ่มจำนวน เข้าไปเป็นเมื่อน้อง ๆนับคล่องแล้ว สิ่งที่น้อง ๆนับได้นั้นเช่น ดินสอสี ยางลบ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆที่เป็นชิ้น และเมื่อคุณพ่อคุณแม่พาออกไปนอกบ้านก็สามารถนับได้เช่นกัน เด็ก ๆจะได้มีปฏิสัมพันธ์ ทำความรู้จักตัวเลขในเชิงรูปธรรมที่จับต้องได้ และเมื่อเด็ก ๆโตขึ้นคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเพิ่งจำนวนนับให้เพิ่มขึ้นอีกเลื่อยๆเช่น 10 20 30 40 50  อีกกรณีหนึ่งที่เด็กอายุ4-5ขวบ เราก็เพิ่มความยากเข้าไปอีกครูจะมีข้อแนะนำ การนับที่เพิ่มความสนุกโดยการนับเป็นคู่ จะทำให้นับเลขได้เร็วขึ้น 





สรุปตัวอย่างการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

🔎  การทดลองเรื่องแม่เหล็กแสนสนุกอ.1/3 🔍



·        เนื้อหาในกิจกรรม  

  คุณครูจะจัดหน้าชั้นเรียนให้เด็กออกมายืนหน้าชั้นเรียนเป็นแถวตอนเรียงยาวหน้ากระดานให้เด็กตอบคำถามว่าแม่เหล็กเป็นอย่างไร จัดกิจกรรมการทดลองแบ่งเป็น 3 ชุด เด็กบางคนก็จะรู้แล้วว่า แยกสังเกตออกว่าแม่เหล็กตัวไหนที่ถูได้หรือไม่ได้ และในชิ้นงานของตำเองเด็กจะวาดภาพวัสดุที่แม่เหล็กสามารตดูดขึ้นได้ 

 


สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching Children about Flashlight) 


    🔦 การสอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching children about flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องทำความสว่างทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยีมีผลให้เกิดมีเครื่องใช้จำเป็นและอำนวยความสะดวกให้คนเรา ดั้งนั้นไฟฉายเป็นเครื่องใช้ที่ให้ความสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัย จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตรงตามจุดมุ่งหมายในหลักสูตร

การสอนลูกเรื่องไฟฉายสำคัญอย่างไร

ไฟฉายเป็นเครื่องใช้ที่มีแสงไฟสว่างก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้โดยทั่วไป เช่น คนเดินทางในที่มืดๆ หรือใช้ไฟฉายเพื่อการบันเทิง ( การเชิดหุ่นเงา การแสดงละคร ) แพทย์ใช้เครื่องมือส่องไฟตรวจสุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น 

การสอนเรื่องไฟฉายมีประโยขน์ต่อเด็กอย่างไร

  • เมื่อเด็กได้มีโอกาสสืบเสาะหาความรู้เรื่องไฟฉายได้แก่ แสงฉายมาจากไหน ทำไมต้องใช้ไฟฉาย เมื่อได้รับความรู้แล้ว เด็กจะได้ฝึกหัดอธิบายเรื่องที่ศึกษามา
  • เด็กได้ทดลองใช้ไฟฉาย ย่อมทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อการเรียนรู้
  • เด็กได้ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีคือไฟฉายและวิธีการต่างๆจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของเทคโนโลยี
  • เด็กจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการอธิบายสิ่งที่ค้นพบตามข้อมูลหลักฐานและองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล
  • เด็กจะเป็นผู้มีความสามารถในการนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างชัดเจนเที่ยงตรง มีเหตุผลกับเพื่อนร่วมงาน และตอบคำถามได้
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการจำแนก
  • ทักษะการวัด
  • ทักษะการสื่อความหมาย

ครูจะสอนไฟฉายให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร

  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูปิดไฟในห้อง ส่องไฟฉายหลายๆกระบอก แล้วให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระตามจังหะ ให้เด็กเคลื่อนไหวไปในลำแสงที่ไฟฉายส่อง
  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ให้เด็กเรียนรู้เรื่องรูปร่าง ลักษณะของไฟฉายจากการได้สัมผัส ส่วนประกอบของไฟฉาย แต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร เช่น

1.        กระจกหน้าไฟฉาย ทำมาจากวัสดุใสคือแก้วสีขาว ส่วนนี้ทำหน้าที่ป้องกันหลอดไฟ ทำหน้าที่ใหแสงสว่าง

2.        กระบอกไฟฉาย มีลักษระเป็นกระบอก ใช้จับเวลาใช้งาน ภายในจะมีช่วงกลวงสำหรับเก็บแบตเตอรี่

3.        ฝาปิดท้าย ใช้ป้องกันเพื่อไม่ให้แบตเตอรี่หลุดออกมา 

พ่อแม่ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องไฟฉายอย่างไร

  • ทดลองใช้ไฟฉายเล่นกับลูก ถามลูกว่า "เกิดอะไรขึ้น"
  • เมื่อเกิดไฟดับที่บ้าน พ่อแม่เอาไฟฉายมาส่องแสงให้เกิดสว่าง พ่อแม่ร่วมสนทนาเอ่ยชื่อ ไฟฉาย ให้ลูกได้ยิน และให้ลูกถือไฟฉายส่องแสงบ้าง
  • ใช้ไฟฉายเล่นเงากับลูก
  • ทดลองการใช้ไฟฉายให้ลูกเห็น ตั้งแต่ ใส่แบตเตอรี่ กดสวิทซ์ และส่องไฟ
  • หากไปร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า ชี้แนะให้ลูกเห็นไฟฉายที่ร้านวางจำหน่าย
  • ให้ลูกตัดภาพไฟฉายมาทำเป็นแฟ้ม ฝึกการเล่าเรื่องไฟฉาย
  • ช่วยกันเลือกหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องไฟฉาย
  • ให้ลูกมีส่วนร่วมสืบค้นข้อมูลเรื่องไฟฉายจากคอมพิวเตอร์

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สอนคณิตอย่างไรให้สนุก (สำหรับเด็กปฐมวัย) 

         


     👉👉 ถ้าพูดถึงคำว่า “ คณิตศาสตร์ ” สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นฟังดูเหมือนเป็นเรื่องยากในความคิดของเด็ก แต่เราสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานไม่เครียดไปกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ได้โดยหาวิธีที่ง่ายและเหมาะสมตามวัย พัฒนาการของเด็กดังเช่นเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการเล่น และได้สัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อให้เด็กเกิดการจดจำที่ยาวนาน  ดังนั้นผู้เขียนจึงคิดหาวิธีในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้สื่อทั้งที่เป็นรูปภาพ ของจริง ของจำลองที่หลากหลาย บางครั้งใช้สื่อในห้องเรียนที่มีอยู่ตามมุมประสบการณ์เช่น ไม้บล็อก  ลูกบอล ตัวต่อ ฯลฯและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในเรื่องของการจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การนับจำนวน รูปร่างรูปทรง ใช้วิธีจัดกิจกรรมกลุ่มซึ่งเด็กได้เรียนรู้ร่วมกันและรู้จักสังเกต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เช่นในการจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่องไม้ดอกไม้ประดับ และต้องการให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องการจำแนกสิ่งต่างๆเราสามารถจัดเด็กเป็นกลุ่มย่อยและนำสื่อของจริงเช่นดอกไม้ชนิดต่างๆที่มีสีต่างๆมาให้เด็กสังเกตและจำแนกดอกไม้ตามชนิด  สี กลิ่นของดอกไม้   นอกจากนี้เด็กสามารถเปรียบเทียบจำนวนของดอกไม้ที่จำแนกได้อีก และเปิดโอกาสให้เด็กแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของกลุ่มของตนเองโดยวิธีการวาดภาพหรือการเล่าให้ครูและเพื่อนๆฟัง โดยครูให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติกิจกรรมโดยการชมเชยหรือให้เพื่อนๆปรบมือให้กำลังใจผู้เขียนคิดว่าวิธีการจัดประสบการณ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย